วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ประเพณี

วัฒนธรรมประเพณี 



งานบุญซำฮะ
"บุญซำฮะ" คือ บุญเดือนเจ็ด เป็นหนึ่งในงานประเพณีฮิตสิบสองคองสิบสี่ ขนบธรรมเนียมของชาวอีสานที่ได้มีการยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดกันมาช้านาน งานบุญซำฮะ (ชำระ) หรือบุญเบิกบ้าน เกิดตามความเชื่อที่ว่าเมื่อถึงเดือนเจ็ดต้องทำบุญชำระจิตใจให้สะอาด และเพื่อปัดเป่ารังควาญสิ่งที่ไม่เป็นมงคลออกจากหมู่บ้าน บางท้องถิ่นเรียกประเพณีนี้ว่า บุญเบิกบ้าน ซึ่งมีพิธีกรรมทั้งทางศาสนาพุทธและตามความเชื่อท้องถิ่น เพื่อขอความคุ้มครองให้พ้นจากภัยพิบัติและช่วยขับไล่สิ่งไม่ดีไม่งามออกไป ให้ชุมชนเกิดความเป็นสิริมงคล สำหรับ "บุญซำฮะ" ที่จังหวัดนครพนมในทุกปี จะมีงานใหญ่ "วัดโอกาส" (ศรีบัวบาน) ตั้งแต่เช้าวันแรม 13 ค่ำ เดือน 7 เริ่มจากพระสงฆ์สวดทักทิศทั้งสิ่ของเมือง เพราะถือตามคตินิยมว่า โลกนี้ในแต่ละทิศจะมีเทพยดารักษา เรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล ในช่วงบ่าย พราหมณ์จะทำธีสักการะบวงสรวง อัญเชิญเทวดามารับเครื่องสังเวยที่จัดเตรียมไว้ ผู้เข้าร่วมพิธีต้องแต่งกายชุดขาว พร้อมนำเทียนสีผึ้งสำหรับทำน้ำพุทธมนตร์คนละ 3 เล่ม เมื่อเสร็จแล้วจะประกอบพิธีไหว้พระ สมาทานศีล อาราธนาพระปริตมงคล พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์แบบโบราณจบแล้ว มีการเทศน์ชำระเพื่อขับส่งเสนียดจัญไรออกจากเมือง เป็นอันเสร็จพิธี





การแข่งเรือ 
ส่วงเฮือ) เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน โดยจัดขึ้นระหว่างงานบุญออกพรรษามีความมุ่งหมายให้ชาวบ้านได้สนุกสนานร่วมกันก่อให้เกิดความสามัคคีความเสียสละ และเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนชาวลาวและชาวไทย จัดขึ้นในลำน้ำโขง บริเวณหน้าเขื่อนนครพนม มีระยะทางแข่งขัน 3 กิโลเมตร ในร่องน้ำที่ไหลเชี่ยวยากลำบากมากในการแข่งขัน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าผู้ชนะคือผู้เก่งที่สุดในแถบลุ่มน้ำโขง



งานประเพณีไหลเรือไฟนครพนม 
(เฮือไฟ) จัดขึ้นในวันออกพรรษา คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดริมแม่น้ำโขงบริเวณเขตเทศบาล การไหลเรือไฟถือเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาจากเทวโลก หลังจากที่พระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่ดาวดึงษ์เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดา เมื่อออกพรรษาแล้วพระพุทธเจ้าก็เสด็จลงมาสู่มนุษย์โลก โดยบันไดทิพย์ทั้ง 3 วันนี้เรียกว่า “วันพระเจ้าโปรดโลก” พระองค์เสด็จมา ณ เมืองสังกัสสะ สถานที่นั้นเรียกว่า “อจลเจดีย์” (อ่านว่า อะ-จะ-ละ-เจ-ดี) ทวยเทพทั้งหลายส่งเสด็จ มวลมนุษย์ทั้งหลายรับเสด็จด้วยเครื่องสักการะบูชามโหฬาร การไหลเรือไฟก็คือการสักการะบูชาอย่างหนี่งในวันนั้น และได้ทำเป็นประเพณีสืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังมีตำนานการไหลเรือไฟที่แตกต่างกันก็ถือว่าทำให้ได้รับอานิสงฆ์เหมือนกัน เดิมเรือไฟทำด้วยท่อนกล้วยหรือไม้ไผ่ต่อเป็นลำเรือยาวประมาณ 5-6 วา ข้างในบรรจุไว้ด้วยขนม ข้าวต้มมัด หรือสิ่งของที่ต้องการจะบริจาคทาน ข้างนอกเรือมีดอกไม้ ธูป เทียน ตะเกียง ขี้ไต้ สำหรับจุดให้สว่างไสวก่อนจะปล่อยเรือไฟ ปัจจุบันมีการจัดทำเรือไฟเป็นรูปแบบต่างๆ ที่ขนาดใหญ่โตขึ้น มีวิธีการประดับตกแต่งให้วิจิตรตระการตามากยิ่งขึ้น เมื่อปล่อยเรือไฟเหล่านี้ลงกลางลำน้ำโขงภายหลังการจุดไฟให้ลุกโชติช่วงจะเป็นภาพที่งดงามติดตาติดใจผู้พบเห็นไปตราบนานเท่านาน ไม่มีที่ไหนๆ ในประเทศไทยจะยิ่งใหญ่เหมือนที่จังหวัดนครพนม



ประเพณีโส้ทั้งปั้น 
เป็นประเพณีของพวกโซ่ (โส้) การเต้นโส้ทั้งปั้นนี้เป็นการรำในงานศพเพื่อที่จะส่งวิญญาณผู้ตายให้ไปสู่สุคติ การเต้นรำมีทั้งชายและหญิง พวกโซ่เป็นชนเผ่าข่าพวกหนึ่ง ลักษณะผิวคล้ำ มีภาษาเป็นของตนเอง ภาษาที่ใช้คล้ายภาษามอญปนเขมร หมู่บ้านชาวโส้นี้ตั้งอยู่ที่บริเวณอำเภอท่าอุเทน อำเภอนาแก และอำเภอศรีสงคราม



งานนมัสการพระธาตุพนม
กำหนดจัดขึ้นในวันขึ้น 10 ค่ำถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีซึ่งถือเป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งงานหนึ่งของชาวนครพนมและจังหวัดใกล้เคียง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น